บนท้องฟ้าของเราเต็มไปด้วยปรากฏการณ์หรือสิ่งสวยงามจำนวนมาก ไม่ว่าจะดวงจันทร์ ดวงดาว ทางช้างเผือก ฝนดาวตก รวมถึงปรากฏการณ์ที่หลายคนปักธงไว้ว่าก่อนตายต้องไปดูกับตาสักครั้งอย่าง “ออโรรา” หรือที่เราเรียกกันว่า “แสงเหนือ” (Aurora Borealis) และ “แสงใต้” (Aurora Australis)
แต่ทราบหรือไม่ว่า มีปรากฏการณ์ท้องฟ้าหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับแสงออโรรามากจนหลายคนเข้าใจผิดว่ามันเป็นสิ่งเดียวกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!
“อามาเทราสุ” อนุภาคปริศนาตกลงมายังโลกจากพื้นที่ว่างเปล่าในอวกาศ
วิจัยใหม่พบ นักบินอวกาศชายที่อยู่ในอวกาศนานเกินไป เสี่ยง “นกเขาไม่ขัน”
“เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพใจกลางทางช้างเผือก เห็นดาวฤกษ์กว่า 5 แสนดวง
เรากำลังพูดถึงกรณีของแสงสีม่วงเขียวที่ส่องเป็นวงกว้าง ลากโฉบเหนือขอบฟ้าในซีกโลกเหนือ ดูเผิน ๆ มันอาจดูเหมือนแสงออโรร่า แต่จริง ๆ แล้วเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และชื่อของมันคือ “ปรากฏการณ์สตีฟ” (Steve Phenomenon)
ปรากฏการณ์แสงที่หายากนี้เป็นที่พูดถึงมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากดวงอาทิตย์กำลังเข้าสู่ช่วงที่เรียกว่า “โซลาร์แม็กซิมัม” หรือช่วงเวลาที่มีปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์สูงที่สุดในวัฏจักรสุริยะ ทำให้จำนวนปรากฏการณ์บนท้องฟ้ายามค่ำคืนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
นั่นรวมถึงปรากฏการณ์สตีฟ ซึ่งเดิมทีหาชมได้ยาก แต่ในปีนี้ มีรายงานการสังเกตเห็นสตีฟบ่อยครั้ง และบางครั้งก็ปรากฏในพื้นที่ที่โดยทั่วไปจะไม่ปรากฏ เช่น บางส่วนของสหราชอาณาจักร
ก่อนหน้านี้ปรากฏการณ์สตีฟไม่มีชื่อด้วยซ้ำ และถูกเหมารวมว่าเป็นสิ่งเดียวกับออโรรา กระทั่ง 8 ปีก่อน เอลิซาเบธ แม็กโดนัลด์ส นักฟิสิกส์อวกาศประจำศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซา ได้เดินทางมาที่รัฐอัลเบอร์ตาของแคนาดาเพื่อร่วมงานสัมมนา เธอไม่เคยเห็นปรากฏการณ์นี้ด้วยตาตัวเอง แต่พบกลุ่มคนที่ไล่ตามหาออโรราในแคนาดา
ในความเป็นจริง มีนักวิทยาศาสตร์เพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นสตีฟกับตา เพราะมันมักปรากฏใกล้กับเส้นศูนย์สูตรมากกว่าออโรรา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาออโรราไม่ค่อยมีโอกาสได้พบพวกมัน
แต่แม็กโดนัลด์สได้พบกับนักวิทยาศาสตร์พลเมืองบางคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างภาพที่ใช้เวลาทั้งคืนเพื่อถ่ายแถบสีอันน่าทึ่งเหนือท้องฟ้าแคนาดา
“ฉันได้ติดต่อเหล่านักล่าแสงออโรราในอัลเบอร์ตาในกลุ่มเฟซบุ๊ก ซึ่งตอนนั้นมีขนาดเล็กมาก แต่พวกเขากระตือรือร้นมากที่จะแบ่งปันข้อสังเกตของพวกเขาและทำงานร่วมกับนาซา” แม็กโดนัลด์สกล่าว
ทีมนักวิทยาศาสตร์และกลุ่มช่างภาพนักล่าแสงออโรราได้นัดประชุมร่วมกันที่ผับแห่งหนึ่ง ช่างภาพมาพร้อมกับรูปถ่ายในมือ ด้วยความกระตือรือร้นที่จะโชว์แถบสีลึกลับที่พวกเขาถ่ายไว้ แม็กโดนัลด์สบอกว่า “ในขณะนั้นเราไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร”
นีล เซลเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ หนึ่งในนักล่าแสงออโรรา ซึ่งเข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้นด้วย บอกว่า “ผมเริ่มสังเกตเห็นสิ่งที่เราเรียกกันเองว่า โปรตอนอาร์ก (Proton Arc) เมื่อปี 2015 เคยมีการถ่ายภาพมันไว้ได้หลายครั้งในอดีต แต่มันไม่ได้รับการระบุอย่างถูกต้องว่าคืออะไร”
ขณะที่ ดร.เอริห โดโนแวน จากมหาวิทยาลัยคาลการี ซึ่งอยู่ที่ผับกับแม็กโดนัลด์สในวันนั้น รับรองกับเซลเลอร์ว่า เขาไม่เคยเห็นโปรตอนอาร์กมาก่อน
เซลเลอร์เล่าว่า “และบทสรุปของเย็นวันนั้นก็คือ เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่ผมเสนอว่า เราหยุดเรียกมันว่าโปรตอนอาร์กได้ไหม?”
ไม่นานหลังจากการประชุมในผับครั้งนั้น คริส แรตซ์ลาฟฟ์ นักล่าแสงออโรราอีกคนก็เสนอชื่อแสงลึกลับบนหน้าเฟซบุ๊กของกลุ่ม “เรากำลังทำงานเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ให้ดีขึ้น แต่ฉันขอเสนอให้เราเรียกมันว่า ‘สตีฟ’ จนกว่าจะถึงเวลานั้น”
ชื่อนี้มีที่มาจากภาพยนตร์ Over the Hedge ซึ่งเป็นแอนิเมชันของ DreamWorks ปี 2006 ซึ่งมีสัตว์กลุ่มหนึ่งหวาดกลัวพุ่มไม้ใบสูงตระหง่านและตัดสินใจเรียกมันว่าสตีฟ
ต่อมาแม้นักวิทยาศาสตร์จะรู้จักปรากฏการณ์นี้มากขึ้น แต่พวกเขาก็ตัดสินใจที่จะคงชื่อนี้ไว้ และทำให้มันเป็นเหมือนชื่อย่อจากชื่อเต็ม ๆ ว่า Strong Thermal Emission Velocity Enhancement
หลังการประชุมครั้งนั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็เดินหน้าค้นหาคำตอบ จนในที่สุด แม็กโดนัลด์สกล่าวว่า มีดาวเทียมดวงหนึ่งสังเกตการณ์ปรากฏการณ์สตีฟได้โดยตรง และรวบรวมข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่ผลการศึกษาในปี 2018 ที่ระบุว่า แถบแสงของปรากฏการณ์สตีฟ เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Subauroral Ion Drift หรือ SAID
SAID หมายถึงการไหลแบบแคบของอนุภาคที่มีประจุในชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก นักวิจัยรู้อยู่แล้วว่ามีสิ่งที่เรียกว่า SAID อยู่ แต่พวกไม่รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ด้วย
สตีฟแตกต่างจากแสงออโรราอย่างเห็นได้ชัด เพราะออโรราจะเกิดจากอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเรืองแสงเมื่อมีปฏิกิริยากับชั้นบรรยากาศ และปรากฏเป็นม่านสีเขียว น้ำเงิน หรือแดง ส่วนสตีฟนั้น ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสิ่งเดียวกัน แต่จะปรากฏที่ตำแหน่งละติจูดที่ต่ำกว่า และปรากฏเป็นแถบแสงสีม่วงเขียว
ดอนนา ลัค ช่างภาพในแมนิโทบาของแคนาดา กล่าวว่า สตีฟเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก การจะพบสตีฟได้เป็นเรื่องของโชค
ลัคพบเห็นและถ่ายภาพสตีฟมาได้ประมาณ 20 ครั้ง ซึ่งเป็นความสำเร็จที่หาได้ยากแล้ว เธอบอกว่าเธอใช้ฟาร์มของครอบครัวบนที่ดินห่างไกลทางตอนใต้ของแมนิโทบา ซึ่งมีมลภาวะทางแสงเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
ลัคและเซลเลอร์กล่าวตรงกันว่า สตีฟจะปรากฏข้างแสงออโรราเสมอ แต่ไม่ใช่ทุกออโรราที่จะทำให้เกิดสตีฟ
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจากNeil Zeller / NASA Goddard Space Flight Center
รัฐบาลเมียนมา ระดมทหารนับหมื่นป้องกันเมืองหลวง
ครม.ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 10% ชั้นผู้น้อยสตาร์ท 18,000 บาท
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ธันวาคม