จากกรณีเหตุการณ์คานสะพานข้ามแยกในโครงการทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เกิดทรุดตัวและถล่มลงสู้ถนนด้านล่าง บริเวณหน้าโลตัสลาดกระบัง เมื่อช่วงเย็นวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา จนมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บหลายราย
โดยสภาพพื้นที่ มีทั้งเศษปูนและเหล็ก รวมไปถึง ซากรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ยังถูกทับถมกัน ไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ เพราะ ทั้งเหล็กและปูนมีขนาดใหญ่มาก รวมไปถึง หลายจุดมีน็อตยึดอยู่ ทำให้ต้องวางแผนงานในการยก เคลื่อนย้าย เพราะ เสี่ยงถล่มซ้ำลงมาอีก
โดยแผนการเคลื่อนย้ายซากสะพานในพื้นที่ จะเริ่มจากการแยกชิ้นส่วน ซึ่งถือเป็นงานที่สำคัญ เพราะ ลอนเชอร์ (launcher) หรือ ท่อนเหล็กขนาดใหญ่สีฟ้า มีน้ำหนักมาก ลอนเชอร์ (launcher) ในช่วงเวลาปกติ จะมีหน้าที่เป็นฐานในการก่อสร้างสะพาน โดยช่างก่อสร้าง จะค่อยๆเอาคอนกรีต มาเชื่อมต่อกัน โดยมีลอนเชอร์ (launcher) เป็นโครงช่วยประคอง เมื่อใช้ลวดสลิงดึงเชื่อมแต่ละเสา ก็จะมีการเอาลอนเชอร์ออก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนสร้างสะพานเสร็จ
นายณรงค์ เรืองศรี ปลัดกรุงเทพมหานคร รวมไปถึง นายธวัชชัย สมบูรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร และนายชัชชญา ขำจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตลาดกระบัง อธิบายตรงกันว่า ลอนเชอร์ (launcher) ที่ล้มลงมา มีความยาวด้านละ 110 เมตร น้ำหนักข้างละ 150 ตัน การจะยกชิ้นส่วนทั้งชิ้นขึ้นมา ทำไม่ได้ ดังนั้นแผนการ คือ ต้อง ตัดลอนเชอร์ออกเป็นท่อนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
โดยในแนวยาว จะตัดให้เหลือท่อนละ 12 เมตร ซึ่งจะมีน้ำหนัก ท่อนละ 20 ตัน ส่วนแนวขวางที่ส่วนหัวและท้าย จะตัดท่อนละ 7 เมตร น้ำหนัก ท่อนละ 7 ตัน ซึ่งการตัดจะต้องมีการถอดน็อตหรือแยกชิ้นส่วนก่อน เพื่อให้ขึ้นรถขนย้ายได้คำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่
ส่วนอุปสรรคการทำงานในพื้นที่ คือ สถานที่คับแคบ เคลื่อนจักรหนัก อาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น การหมุน เคลื่อนย้าย อุปกรณ์ อาจจะทำได้ลำบากพอสมควร
ขณะที่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตลาดกระบัง บอกว่า ตั้งแต่เมื่อคืนเริ่มมีการยกเคลื่อนย้ายซากเหล็กบางส่วนออกไปแล้ว โดยใช้รถเครน 200 ตัน ช่วยยกพยุง เชื่อว่าการดำเนินการจะใช้เวลา 3-7 วัน ในการเคลื่อนย้ายซากที่กีดขวางการจราจรออกจากพื้นที่ สำหรับสิ่งที่ต้องระวังในภารกิจเคลื่อนย้าย คือ การดีดตัวของเหล็ก เพราะการถล่มที่ชิ้นส่วนเหล็กทับซ้อนกันอยู่ ส่วนที่บอกว่า การย้ายในเบื้องต้น จะเคลียร์ได้เฉพาะ ซากที่กีดขวางการจราจร เพราะ หากดูจากภาพ ก็จะเห็นว่า นอกจาก ลอนเชอร์ (launcher) ในพื้นที่ยังมี ซากปูน และ คอนกรีต ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของสะพาน ถล่มลงมา และต้องรอการเคลื่อนย้ายด้วย